Animal Farm

แอนิมอล ฟาร์ม (Animal Farm) เป็นนวนิยายสั้นเชิงอุปมานิทัศน์ เสียดสีการเมือง ที่เขียนโดยจอร์จ ออร์เวลล์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 นิยายเรื่องนี้สะท้อนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซียและการครองอำนาจของสตาลิน โดยใช้สัตว์เป็นตัวดำเนินเรื่อง จอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย มองว่าสหภาพโซเวียตนั้น “ปกครองอย่างโหดร้าย” และเขาใช้นิยายเรื่องนี้เพื่อเสียดสีการปกครองของสตาลิน

โดยนวนิยายแอนิมัลฟาร์ม ได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ให้เป็นหนึ่งในนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด 100 เรื่อง ระหว่างปี พ.ศ. 2466–2548 และอยู่ในอันดับที่ 31 ของรายชื่อนิยายที่ดีที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของสำนักพิมพ์มอเดิร์นไลบรารี นอกจากนี้ยังได้รับการดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ จำนวนมาก


ที่มาของ Animal Farm
จอร์จ ออร์เวลล์ เขียนนิยายเรื่องนี้ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ซึ่งในขณะนั้นสหราชอาณาจักรกำลังเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง และชาวอังกฤษส่วนใหญ่ต่างยกย่องสตาลิน แต่ตัวออร์เวลล์เองกลับไม่ชอบใจกับเรื่องดังกล่าว ในตอนแรกต้นฉบับถูกหลายสำนักพิมพ์ปฏิเสธ แต่ภายหลังได้รับความนิยมเนื่องจากความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสงครามเย็น

เนื้อหาของ แอนนิมอล ฟาร์ม

หนังสือเรื่องนี้สะท้อนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซียและการครองอำนาจของสตาลิน โดย สามารถตีความโดยนัยได้ว่า

  • เจ้าของฟาร์มที่ปล่อยปละละเลยสัตว์ คือ พระเจ้าซาร์นิโคลัส กษัตริย์องค์สุดท้ายของรัสเซีย
  • หมูแก่ที่ฝากข้อความให้สัตว์ปฏิวัติก่อนตาย คือ คาร์ล มากซ์ ผู้วางรากฐานแนวคิดแบบคอมมิวนิสม์
  • หมูขาว คือ วลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำการปฏิวัติ จนขับไล่เจ้าของฟาร์มไปได้ (แต่ในประวัติศาสตร์จริงๆ พรรคบอลเชวิคของเขา สั่งยิงพระเจ้าซาร์และครอบครัวตายทั้งหมด)
  • หมูดำ คือ โจเซฟ สตาลิน ผู้ใช้นโยบายแบบทหาร รวมอำนาจ รุนแรง รวบอำนาจและยึดทรัพยากรทั้งหมดของประชาชน เข้าเป็นของรัฐทั้งหมด (หมูดำ ขับไล่หมูขาวไปได้ ในประวัติศาสตร์คือ หลังยุคของเลนิน สตาลินไล่กวาดล้างผู้มีตำแหน่งในพรรคที่อยู่ข้างเลนินจนหมด)
  • สัตว์ทั้งหลาย จะเป็นตัวแทนของประชาชนต่างๆ ที่อยู่ในรัสเซีย

ซึ่งตอนจบของหนังสือก็เหมือนการบอกว่า การปกครองแบบนี้ยังไงก็ไม่ยั่งยืน ทำให้เหล่าสัตว์ทั้งหลายลุกขึ้นมาปฏิวัตินั่นเอง

ถูกแปลไทยมาแล้ว 10 ครั้ง

  1. ฟาร์มเดรัจฉาน แปลโดย ม.ล. นิภา ภานุมาศ (พ.ศ. 2502)
  2. สัตวรัฐ แปลโดย อุทุมพร ปาณินทร์ สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2515)
  3. การเมืองของสัตว์ แปลโดย วิเชียร อติชาตการ สำนักพิมพ์เคล็ดไทย (พ.ศ. 2518)
  4. แอนนิมอล ฟาร์ม แปลโดย ศุภรางค์ เผ่าพันเลิด สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2518)
  5. ฟาร์มสัตว์ แปลโดย สายธาร สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น (พ.ศ. 2520)
  6. รัฐสัตว์ แปลโดย เกียรติขจร ไชยแสงสุขกุล สำนักพิมพ์มติชน (พ.ศ. 2544)
  7. แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย พันเอก ดร. ชัยพฤกษ์ ปิลกศิริ สำนักพิมพ์กู๊ดมอร์นิ่ง (พ.ศ. 2549)
  8. แอนิมอล ฟาร์ม สงครามกบฏของสรรพสัตว์ แปลโดย บัญชา สุวรรณานนท์ สำนักหนังสือไต้ฝุ่น (พ.ศ. 2555)
  9. แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย เพชร ภาษพิรัช สำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (มีนาคม พ.ศ. 2560)
  10. แอนิมอล ฟาร์ม การเมืองเรื่องสรรพสัตว์ (ฉบับ 2 ภาษา Thai-English) แปลโดย สรวงอัปสร กสิกรานันท์ แอร์โรว์ คลาสสิกบุ๊คส์ (พ.ศ. 2561)

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ Natchapon
ขอบคุณ ไฟล์ E-Pub Eng-ver จาก คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Click >>>โหลด Animal Farm ฉบับ E-pub (โหลดเก็บลงในแอพชั้นหนังสือได้เลย)

Click >>>โหลด Animal Farm แปลไทย (ไฟล์ PDF)

Click >>>โหลด Animal Farm แปลไทย (E-Pub)

สรุปเนื้อหา Animal Farm จาก คุณ รักษ์พงศ์ เพชรบุตร


กาลครั้งหนึ่ง มีฟาร์มชื่อ เมเนอร์ เจ้าของชื่อ คุณโจนส์ เหตุการณ์ก็ปกติดี จนกระทั่งวันหนึ่งหมูในฟาร์มชื่อ โอลด์ เมเจอร์ ออกมาปลุกระดมสัตว์ในฟาร์ม ว่ามนุษย์แม่งกดขี่ ต้องปฏิวัติยึดอำนาจให้สัตว์เป็นใหญ่ดูแลกันเอง 
….
หมู หมา กา ไก่ ในฟาร์มก็ลุกฮือกันยึดอำนาจจากคุณโจนส์สำเร็จ ไล่คุณโจนส์ออกจากฟาร์ม ตอนแรกก็มีความสุข มีเสรีภาพกันเต็มที่ จนกระทั่งผู้นำตาย ผู้นำรุ่นที่สองก็สถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นผู้นำ คือ หมูสโนว์บอล กับหมูนโปเลียน สัตว์ในฟาร์มก็ถามว่า “ทำไมต้องเป็นหมูวะ” ได้คำตอบว่า หมูโดยธรรมชาติไม่ต้องทำงานหนัก มีความรู้ในเรื่องการจัดการฟาร์มและคอยให้คำแนะนำสัตว์อื่น 
….
ตอนแรกผู้นำทั้งสองก็ปรองดองกันดี ตัวหนึ่งทำหน้าที่ออกกฏระเบียบมาให้สัตว์ปฏิบัติตามเพื่อความเป็นระเบียบในสังคมสัตว์ ส่วนอีกตัวคอยสั่งสอนสัตว์รุ่นใหม่เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม บลา บลา บลา
….
เรื่องราวที่เป็นศูนย์รวมจิตใจสัตว์ก็คือ “สงครามแห่งเคาชท์” (Battle of Cowshed) เป็นวีรกรรมเรื่องเล่า เชิดชูนโปเลียน ว่าเขาได้เข้าต่อสู้อย่างกล้า หาญกับมนุษย์ที่พยายามจะแย่งชิงฟาร์มคืน แต่ไม่เคยมีสัตว์ตัวไหนเห็นเหตุการณ์นั้นจริง ๆ 

หมูสโนว์บอล คิดจะพัฒนาฟาร์มด้วยการสร้างกังหันลมขึ้นมา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงของสัตว์ ได้รับการชื่นชมมาก จนนโปเลียนเริ่มอิจฉา จึงวางแผนเขียน รธน.ค่อย ๆเอาพวกของตัวเองเข้ามาบริหาร งานฟาร์ม ปล่อยข่าวลือว่า คนต้นคิดเรื่องกังหันลมคือตัวเอง แต่ถูกแย่งผลงานไป จากนั้นก็ไปยุพวกหมาให้ไล่ หมูสโนว์บอลออกจากฟาร์ม
….
ต่อมากังหันพัง นโปเลียน ก็ใส่ความว่า สโนว์บอลไปสมคบกับมนุษย์พยายามจะยึดอำนาจคืน ด้วยการบ่อนทำลายตน เมื่อกังหันพังสัตว์ในฟาร์มก็ต้องทำงานหนักขึ้น นโปเลียน ก็ให้คำสัญญากับสัตว์ว่า ทุกอย่างจะดีขึ้น จงอดทนทำงานอย่างหนัก เสียสละ และใช้ชีวิตอย่างสมถะ เพื่อสังคมส่วนรวมในฟาร์ม แต่ในขณะเดียวกัน หมูนโปเลียน กลับเปลี่ยนไป ทำทุกอย่างตรงข้ามกับสิ่งที่เขาสัญญา และทำทุกอย่างเหมือนมนุษย์ที่เขายึดอำนาจมา
….
เหตุการณ์สุดท้าย คือ นายเฟรเดอร์ริค ซึ่งเป็นมนุษย์เจ้าของฟาร์มข้าง ๆ เข้าจู่โจมฟาร์มเมเนอร์ เหล่าสัตว์ต่อสู้อย่างแข็งขัน โดยเฉพาะม้าที่ชื่อ บ็อกเซอร์ สู้จนบาดเจ็บ และต่อมาเสียชีวิตลง หมูสควีเลอร์ (รมต.โฆษณาชวนเชื่อ) ทำซีรีย์สดุดีม้าอย่างน่าประทับใจ แต่เบื้องหลังศพม้าถูกขายให้โรงฆ่าสัตว์นำเงินเข้ากระเป๋าหมู
….
บทจบ หมูเริ่มปรองดองกับคน เพื่อยุติสงคราม หมูนโปเลียนเหมือนคนเข้าทุกวัน ทั้งกินเหล้า สังสรรค์ เล่นพนัน กับคน ในขณะเดียวกันก็คุมเชิง พร้อมที่จะหักหลังมนุษย์ทุกเวลา สัตว์ในฟาร์มนั่งมอง ชีวิตหมูกับคนแล้วก็ปลงก้มหน้าเชื่อฟังใต้การปกครองต่อไปอย่างสงบร่มเย็น
….

ข้อมูลจาก คุณ สราวุธ อินทพรม

ตอนท้าย อีพวกหมูมันจัดงานเลี้ยง แต่งตั้งยศกันเอง แล้วลาแอบเห็น เลยไปบอกสัตว์ตัวอื่นๆในฟาร์ม พวกสัตว์ทนไม่ไหว เลยก่อม็อบ ระดมมวลมหาประชาชนบุกไปถล่มงานเลี้ยง
ซึ่งปกติแล้ว พวกสัตว์อื่นๆจะไม่กล้าหือพวกหมู เพราะพวกหมูมันเลี้ยงหมาไว้ หมูสามารถสั่งพวกหมาให้ไปฆ่าสัตว์ตัวไหนก็ได้
แต่บังเอิญคืนนั้น เสือกฟลุค โชคดีที่พวกหมาแดกเหล้าฉลองจนเมา พวกหมูตะโกนเรียกหมามาช่วยแต่ก็ไม่ยอมตื่น สุดท้ายพวกหมูโดนประชาชนชาวสัตว์รุมกระทืบตายเรียบ เป็นอันจบสิ้นการปกครองระบอบหมู

Comment